รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน : จังหวัดตรัง

Authors

  • Boonwat Sawangwong College of Politics and Government, Suan Sunandha Rajabhat University
  • ขันทอง ใจดี
  • มาดารัตน์ สุขสง่า

##semicolon##

เศรษฐกิจชุมชน##common.commaListSeparator## การพัฒนา##common.commaListSeparator## ยั่งยืน##common.commaListSeparator## จังหวัดตรัง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 2) ศึกษาระดับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน และ 4) เพื่อนำเสนอแนะรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดตรัง จำนวน 400 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการการถดถอยของพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ มีดังนี้ 1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจส่วนใหญ่พึ่งพาภาคเกษตร 2) การใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตค่อนข้างน้อย 3) ปัญหาด้านคุณภาพบริการของแหล่งท่องเที่ยว 4) ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย 5) ปัญหาด้านโครงสร้างประชากรในจังหวัดที่มีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของสังคมผู้สูงอายุ และ 6) ปัญหาด้านยาเสพติด ด้านระดับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.64, S.D = .910) ขณะที่ผลการวิเคราะห์สมการการถดถอยพหุคูณ ชี้ว่าปัจจัยการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านการพัฒนาเครือข่าย และด้านสิ่งแวดล้อม มีผลต่อการพัฒนาจังหวัดอย่างยั่งยืน คิดเป็นร้อยละ 79.8 และผู้วิจัยได้นำเสนอรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาจังหวัดตรังอย่างยั่งยืนผ่านตัวแปรเศรษฐกิจ เครือข่าย สิ่งแวดล้อม ได้เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน “TRANG Model”

##submission.downloads##

Published

2023-03-27