การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • สุภาวดี นิ่มเรือง กองบังคับการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

##semicolon##

การมีส่วนร่วม##common.commaListSeparator## การกำจัดขยะมูลฝอย##common.commaListSeparator## จังหวัดสมุทรปราการ

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยของ ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) เพื่อศึกษาผลของจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยของตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ (3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อการกำจัดขยะมูลฝอยของตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือประชาชนที่อยู่ในครัวเรือนในตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 303 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test และใช้สถิติ one-way ANOVA หากพบว่ามีความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least significant different test)

ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการกำจัดขยะมูลฝอยของตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.69 เมื่อพิจารณารายละเอียดสรุปได้ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยของตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.77 ประชาชนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.66 ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.63 และอันดับสุดท้ายด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย  3.58 ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน
มีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยของตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ แตกต่างกันส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยของตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่มีระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมุติฐานวิจัย

##submission.downloads##

Published

2019-06-15